วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

          อำเภอพญาเม็งราย (คำเมืองLanna-Phaya Mengrai.png) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย แยกการปกครองออกมาจากอำเภอเทิง




ที่ตั้งและอาณาเขต


อำเภอพญาเม็งรายตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้




ประวัติ

อำเภอพญาเม็งราย เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตำบลแม่เปา ตำบลไม้ยา และตำบลแม่ต๋ำอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพญาเม็งราย และได้ยกฐานะเป็นอำเภอพญาเม็งราย ในปี พ.ศ. 2530

การแบ่งเขตการปกครอง


การปกครองส่วนภูมิภาค


อำเภอพญาเม็งรายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 70 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ชื่อตำบลตัวเมืองอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร
1.แม่เปาLN-Tambon-Mae Pao.pngMae Pao203,66511,508
2.แม่ต๋ำLN-Tambon-Mae Tam.pngMae Tam111,5214,986
3.ไม้ยาLN-Tambon-Mai Ya.pngMai Ya183,35810,873
4.เม็งรายLN-Tambon-Mengrai.pngMengrai143,3909,953
5.ตาดควันLN-Tambon-Tat Khwan.pngTat Khwan81,5784,632

การปกครองส่วนท้องถิ่น


ท้องที่อำเภอพญาเม็งรายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลพญาเม็งราย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่เปาและบางส่วนของตำบลเม็งราย
  • เทศบาลตำบลไม้ยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ยาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเม็งราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเม็งราย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพญาเม็งราย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เปา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพญาเม็งราย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ต๋ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาดควัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาดควันทั้งตำบล

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki








ประวัติตำบลเม็งราย

ประวัติความเป็นมา

ตำบลเม็งราย แยกจากตำบลแม่เปา เมื่องสิงหาคม 2524 ได้ชื่อตำบลเม็งราย จากประวัติศาสตร์เมื่อครั้งพญาเม็งราย เสด็จประทับส่วนประองค์เพื่อตั้งไก่ป่า ณ บริเวณสันกลางทุ่งนาบ้านสันป่าสัก แยก "ซุ้มตั้งไก่พญาเม็งราย" หรือ "คุ้มพญาเม็งราย"ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่

พื้นที่

เป็นที่ราบรุ่งฝั่งลำน้ำอิง

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ ต.แม่ต๋ำ อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ต.ไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ป่าตาล และ ต.ต้า อ.ขุนตาล จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย

อาชีพ

อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวน/ทำไร่, ค้าขาย
อาชีพเสริม รับจ้าง

สาธารณูปโภค

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,754 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.00 ของพื้นที่

การเดินทาง

ทางหลวง หมายเลข 1152 ชร 57290 จากอำเภอเมืองเชียงราย ผ่าน อ.เวียงชัย ถึง อ.พญาเม็งราย ประมาณ 48 กม.

ผลิตภัณฑ์

มาลัยดินหอม

สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลเม็งราย

                                  คุ้มพญาเม็งราย

ประวัติคุ้มพญาเม็งราย
            อนุสาวรีพ่อขุนเม็งรายมหาราช ประทับนั่ง บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 3 ต.เม็งราย อ.พญาเม็งราย
ชื่อ "พระยาเม็งราย" ที่นำมาตั้งเป็นชื่ออำภอ มีคำเล่าขานสืบกันมาว่า มีเนินเตี้ย ๆ เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ เป็นป่าละเมาะเจ้าพญาเม็งรายหยุดพักกองทัพ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพักผ่อนเป็นการส่วนพระองค์ จึงเสด็จไป "ตั้งไก่ป่า" ที่สันกลางทุ่งนา ซึ่งต่อมาที่แห่งนี้ได้รับการบอกเล่าสืบ ๆ กันมาว่าเป็น "ซุ้มตั้งไก่พญาเม็งราย" หรือ "คุ้มพญาเม็งราย" ปัจจุบันตั้งอยู่กลางทุ่งนา บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 3 ต.เม็งรายราย จ.เชียงราย






ข้อมูลอื่นๆ ตั้งอยู่บ้านสันป่าสัก ม. 3 ต.เม็งราย  อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย เป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนชาวอำเภอพญาเม็งราย และประชาชนทั่วไป โดยในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี ทางอำเภอจะได้จัดงาน "ไหว้สาพญาเม็งราย" ขึ้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พ่อขุนเม็งรายมหาราช 

แหล่งที่มาของข้อมูล: พ่อหนานตา ยะแก้ว

อธิบายการเดินทาง: จากในตัวเมืองเชียงราย มาถนนพญาเม็งรายราย-เชียงของ เมื่อถึงสามแยกหน้าตลาดสดแม่ทอน เลี้ยวขวา เดินทางประมาณ 3 กิโลเมตร เจอป้ายคุ้มพ่อขุนแล้วเลี้ยวซ้ายแล้วจะเจอ



                                   วัดพระธาตุปู่ตุ๋ง


ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว: พระธาตุปูตุ๋ง

รายละเอียด เป็นพระธาตุปูตุ๋งเป็นพระธาตุ้กาแก่คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอพญาเม็งราย 
ซึ่งมีร่องรอยของอารยธรรมดั้งเดิม ตั้งอยู่บ้านสันป่าสัก ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย 
ภายในบริเวณพระธาตุยังมีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฎให้เห็นอยู่ห่างจาก
คุ้มพญาเม็งรายไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์ 
อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรมพระธาตุองค์ปัจจุบันได้บูรณะใหม่
เพิ่งแล้วเสร็จ เมื่อปี ๒๕๕๑ 
                                                                                            

ข้อมูลการติดต่อ นายมงคล สิทธิหล่อ 

ข้อมูลอื่นที่ฉันรู้: อำเภอพญาเม็งราย ตามตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งเจ้าพญาเม็งราย 
หรือพ่อขุนเม็งรายมหาราช 
   เคยนำกองทัพจะไปตีเมืองผาแดง (อำเภอเชียงของ) พระองค์ได้ทรงหยุดพักไพร่พลบริเวณป่าละเมาะ ซึ่งเป็นเนินดินเตี้ย ๆ เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ และได้เสด็จพักผ่อนเป็นการส่วน
พระองค์ไป “ตั้งไก่ป่า”ที่สันกลางทุ่งนาและที่แห่งนี้ได้รับการบอกเล่าสืบๆกันมาว่าเป็น
“ซุ้มตั้งไก่พญาเม็งราย” หรือ“คุ้มพญาเม็งราย”








ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

พิธีสู่ขวัญ

ความสำคัญ

        เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการปลอบใจเมื่อประสบเคราะห์ร้าย หรือแสดงความยินดีแก่เจ้าของขวัญ จากคณะญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

พิธีกรรม
        การทำพิธีสู่ขวัญทำได้ ๒ วิธีคือ พิธีทางพุทธและพิธีทางพราหมณ์ พิธีทางพุทธจะนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ส่วนพิธีทางพราหมณ์จะมีหมอสูตรขวัญเป็นผู้ทำพิธีโดยให้เจ้าของขวัญนั่งหันหน้าไปในทิศที่กำหนดใช้มือขวาจับพาขวัญ พราหมณ์ก็จะจุดเทียนเวียนหัวเจ้าของขวัญ หลังจากพิธีพราหมณ์ก็จะทำพิธีเรียกขวัญ ขอความสุขความเจริญจงเกิดแก่เจ้าของขวัญ เมื่อเรียกขวัญแล้วก็จะมีพิธีผูกข้อมือด้วยฝ้าย

สาระ
      พิธีสู่ขวัญเป็นขนบประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน โอกาสการทำพิธีสู่ขวัญมีหลายโอกาส เช่น สู่ขวัญแม่ออกกรรม(คลอดบุตร) สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญเรือน สู่ขวัญนาค สู่ขวัญข้าว และสู่ขวัญคนป่วย ประเพณีสู่ขวัญเป็นมรดกที่ดีงามที่บรรพบุรุษของคนอีสานได้ยึดถือและถ่ายทอดแก่ลูกหลาน ซึ่งสมควรที่คนรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงและธำรงรักษาไว้เป็นมรดกสืบไป




ประเพณีทองผ้าป่า 

         ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับ คฤหบดีจีวร คือจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน 
        ภายหลังที่มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์อุปสมบทแก่กุลบุตรกุลธิดา ที่มีศรัทธาปสาทะจะปฏิบัติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้เพื่อการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ให้อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ (คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง) แก่ผู้ขออุปสมบท ที่เกี่ยวกับผ้าบังสุกุลนี้อยู่ในข้อที่ ๒ ดังนี้ 
๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม) 
        ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าพระสงฆ์ย่อมต้องอาศัยผ้าบังสุกุลเพื่อใช้นุ่งห่มจนตลอดชีวิต ผ้าบังสุกุลจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาลก็มีการทอดผ้าบังสุกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่ง ความปรากฏในธัมมปทัฏฐกถา ดังนี้ 
        ในวันหนึ่ง พระเทพธิดาถวายผ้าแก่พระอนุรุทธเถระ ผู้มีจีวรเก่าแล้วและเที่ยวแสวงหาจีวรในที่ทั้งหลาย มีกองหยากเยื่อเป็นต้น หญิงภรรยาเก่าของพระเถระนั้นในอัตภาพที่ ๓ แต่อัตภาพนี้ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อ ชาลีนี ในดาวดึงส์ภพ นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า “ถ้าเราจักถวายโดยทำนองนี้ พระเถระจักไม่รับ” จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อแห่งหนึ่งข้างหน้าของพระเถระนั้น ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่ โดยอาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้นจะปรากฏได้ พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้นนั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้ว ถือเอาด้วยคิดว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ” ดังนี้แล้วหลีกไป 
ต่อมา ครั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าอันสมควรแก่สมณบริโภค ไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า หรือข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้กระมังจึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า” (ผ้าที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพอยู่ในป่าช้า) 
        แม้ในการทำบุญงานศพ ยังนิยมเอาผ้าไปทอดที่หีบศพ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น เรียกว่า ชักผ้าบังสุกุล ถ้าหากมีการทอดผ้าจำนวนมาก ก็ยังนิยมเอาสายสิญจน์ผูกที่หีบศพ และยังโยงสายสิญจน์นั้นมาวางที่หน้าพระภิกษุสงฆ์ และทอดผ้าไว้บนสายสิญจน์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น ก็เรียกว่าชักผ้าบังสุกุล 
        ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าและพระสาวก 
        ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ 
        การที่หมอชีวกโกมารภัจได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุแล้ว กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นพระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านหมอเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพร และได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้ 
        พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกโกมารภัจ ผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือ พระโสดาบัน 
        ดังนั้น การนำผ้าไปทอดไว้ในป่าอย่างแต่ก่อน จึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นการนำผ้าป่าที่มีลักษณะดีกว่าไปถวายโดยตรง หรือถ้ายังประสงค์จะรักษาประเพณีทอดผ้าป่า หรือประเพณีที่ให้พระภิกษุถือเอาเฉพาะผ้าบังสุกุลไว้ด้วย ก็นำไปทอดไว้ใกล้ๆ สถานที่ที่พระภิกษุอาศัยอยู่ เช่น วัดวาอาราม จนกระทั่งกลายมาเป็นประเพณีนำผ้าสำเร็จรูป เป็นสังฆาฏิ  จีวร สบง ผืนใดผืนหนึ่ง หรือทั้งสามผืน ที่เรียกว่าไตรจีวร พร้อมด้วยเครื่องบริวารไปทอดเป็นการกุศลสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้ 
        สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา 




ประเพณีสืบชะตา



        พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย
พิธีสืบชะตาแบบพื้นเมืองของจังหวัดน่านได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน ชาวน่านในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลต่างรู้จักและยึดมั่นปฏิบัติกันอยู่ เพราะเชื่อว่าทุกข์ภัยทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และญาติพี่น้องจะหมดหายไปชีวิตก็จะยืนยาวยิ่งขึ้น อีกทั้งเชื่อว่าก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานพร้อมที่จะสู้กับชะตาชีวิตต่อไป
พิธีสืบชะตานี้แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
๑. สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบเช่น ๒๔ ปี ๓๖ ปี ๔๘ ปี ๖๐ ปี ๗๒ ปี เป็นต้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น
๒. สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้าน ประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน ๓ คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
๓. สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจราจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมืองเจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป



อาหารพื้นเมือง


น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ


   แคบหมู  คือแคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม


แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย